วันพฤหัสบดีที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2558

แนะนำหนังสือใหม่ : จริยธรรมในวิชาชีพกฎหมาย โดยศาสตราจารย์ พิเศษ วิชา มหาคุณ


 สงวนลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล

 แนะนำหนังสือใหม่ : จริยธรรมในวิชาชีพกฎหมาย
 พิมพ์ครั้งที่ 1 กรกฎาคม 2558
 ผู้แต่ง : ศาสตราจารย์ พิเศษ วิชา มหาคุณ
             คริษฐา   ดาราศร
             อุทิศ   บัวศรี
             พัฒนพงศ์    จันทร์เพ็ชรพูล

ISBN : 978-616-279-694-4

จัดพิมพ์โดย  สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหิดล
อาคารหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล  ชั้น 2
25/25 ถนนพุทธมนฑล  สาย 4 ตำบลศาลายา  อำเภอพุทธมณฑล
จังหวัดนครปฐม  73170
โทร 0-2800-2680-9 ต่อ 4302   โทรสาร  0-2441-9580

พิมพ์ที่ หจก.ภาพพิมพ์  45/12 -14 , 33  หมู่ 4 ตำบลบางขนุน  อำเภอบางกรวย
จังหวัดนนทบุรี  11130   โทร 0-2879 - 9154-6

ราคา 200 บาท


หรือติดต่อสอบถามได้ที่ศูนย์หนังสือจุฬา    www.chulabook.com 
คำนิยม  หนังสือจริยธรรมในวิชาชีพกฎหมาย  โดย ศาสตราจารย์ พิเศษ ธานินทร์  กรัยวิเชียร  องคมนตรี




วันพฤหัสบดีที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2558



                  รายงานโครงการวิจัยเรื่อง " จริยธรรมในวิชาชีพกฎหมาย"
                  ผู้แต่ง : ศาสตราจารย์ (พิเศษ)  วิชา  มหาคุณและคณะ 
                  ISBN  978-616-279-309-7
                  ปีที่พิมพ์  พ.ศ. 2556 ครั้งที่ 1
                  ผู้ผลิต  คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดล

                   
                   แหล่งศึกษาค้นคว้า :
                    1. คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์  
                        มหาวิทยาลัยมหิดล                                                         
                    2. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย  (สกว.)
                    3. ห้องสมุดสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา                                         
                    4. ห้องสมุดรัฐสภา    

                
               ผู้สนใจงานวิจัยติดต่อสอบถามหรือมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับงานวิจัย 
               กรุณาส่งอีเมล์มาได้ที่ karitta@hotmail.co.th
                                              









               

วันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ABSTRACT Ethics in legal profession



ABSTRACT

PROJECT  TITLE :  Ethics  in  legal  profession
NAME OF INVESTIGATOR:  Prof. Vicha  Mahakun , et al.

Abstract
The purposes of this study are (1) to comparatively study the development of ethical principles of Legal profession in Thailand and other countries; (2) to study problems of ethics of Legal profession and impacts of the problems to Thai society nowadays; (3) to study the mechanisms controlling the conduct in Legal profession; and (4) to propose the problem-solving guidelines of ethics of Legal profession. The methods of data collection for this study are document reviews, interviews and questionnaires.
The results of this study are (1) the development of ethical principles of Legal profession in Thailand and other countries is different in sources of ideas and theories. The divergence is result from the difference in history, politics, governance and society. However, there is some linkage in Legal Profession. What East & West philosophers view the same is the justice, the segregation between good and evil, the exclusion of personal interests from public interests, value of work and responsibilities of Legal profession that is to maintain harmony, peace of society and justice. All mentioned above require lawyers to hold the high moral standards than other professions.Two problems on ethics in Legal profession that citizens and Legal professions agree mostly are (1) lack of deeply cultivating core value and imparting the comprehension about legal ethics and (2) impacts of Globalization. With global changes, the present social value and culture pay more attention to the importance of materialism, capital and power than to maintain the core value of ethics in Legal profession. These two issues significantly cause people lost trust in justice system & Legal professions, disharmony and inequality in society, breaking the course of fear in laws and legislation, injustice, reduction in awareness of ethics profession, and increasing core value in materialism, power, authoritarianism as well as consumerism. All these lead to numerous troubles such as economic, political, and social problems as well as corruption. It was found that the set mechanisms for controlling conduct in Legal profession are appropriate but the issue is no serious implementation or law enforcement in practice.
The finding of attitude survey indicates that people still trust in Legal Profession and they expect higher standards of Legal profession. This may lead to the important change in Legal profession. This study suggested the guidelines to solve the problems such as developing laws, managing human resource of Legal organization, cultivating accurate idea and core value, improving the education, teaching and training programs, enhancing the check and balance system of organizations that audit Legal profession.
The objectives of the guidelines are (1) to uphold ethics in Legal profession; (2) to keep up the pace of changes in global trend, economy, and society; (3) to promote a high standard of professional conduct for Legal profession; (4) to make lawyers aware of the importance of ethics in Legal profession that it is the foundation and focal point of Legal profession to build up the public trust that lawyers hold their dignity and honor as professions who devote themselves to maintain affection, faith in merit & morals, justice, human dignity, national security, peace of society and establish all these to exist and stay there timeless not to mention the past, present and future.

Key  Words: Ethics of Legal Profession , ethics  , profession , legal.

source :  The Thailand Research Fund (TRF)
http://www.trf.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=47&Itemid=122

บทคัดย่อภาษาไทย จริยธรรมในวิชาชีพกฎหมาย



บทคัดย่อภาษาไทย
ชื่อโครงการ : จริยธรรมในวิชาชีพกฎหมาย
ชื่อผู้วิจัย : ศาสตราจารย์ (พิเศษ) วิชา  มหาคุณ  และคณะ

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการของหลักจริยธรรมในวิชาชีพกฎหมายเปรียบเทียบของไทยและต่างประเทศ ศึกษาปัญหาทางจริยธรรมในวิชาชีพกฎหมายและผลกระทบของปัญหาที่มีต่อสังคมไทยในปัจจุบัน กลไกที่ควบคุมความประพฤติในวิชาชีพกฎหมาย   เพื่อเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมในวิชาชีพกฎหมาย   วิธีวิจัยใช้วิธีวิจัยผสมผสานกันระหว่างวิจัยจากเอกสาร การสัมภาษณ์ และเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม
ผลจากการศึกษาพบว่า พัฒนาการของหลักจริยธรรมในวิชาชีพกฎหมายของไทยและต่างประเทศมีความแตกต่างกันในเรื่องที่มาของแนวความคิดและทฤษฎี  เพราะเป็นผลมาจากที่มาของประวัติศาสตร์ การเมืองการปกครอง และสังคมที่แตกต่างกัน  แต่จุดเชื่อมโยงที่นักปรัชญาชาวตะวันออกและตะวันตกเห็นตรงกัน คือแนวความคิดเรื่องความยุติธรรม  การแบ่งแยกระหว่างความดีกับความชั่ว  จริยธรรมส่วนตัวกับจริยธรรมสาธารณะ  คุณค่าของงานและภาระหน้าที่ของผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายคือการดำรงไว้ซึ่งความสงบสุข สันติภาพของสังคม และความยุติธรรมอันทำให้ผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายจำเป็นต้องมีจริยธรรมวิชาชีพสูงกว่าผู้ประกอบอาชีพทั่วไป  สำหรับสภาพปัญหาของจริยธรรมวิชาชีพที่ประชาชนและผู้ประกอบวิชาชีพมีความเห็นตรงกันมากที่สุด คือ มีสาเหตุมาจากการขาดการปลูกฝัง ค่านิยม ความรู้ในเรื่องจริยธรรมวิชาชีพอย่างลึกซึ้ง  และปัญหาอันเนื่องมาจากการไหลบ่าของกระแสโลกาภิวัฒน์  ค่านิยมและวัฒนธรรมของโลกยุคปัจจุบันที่ให้ความสำคัญกับวัตถุ เงิน อำนาจ มากกว่าการรักษาคุณค่าจริยธรรมในวิชาชีพ  ซึ่งมีผลกระทบมากที่สุดคือ คนไม่เชื่อในระบบความยุติธรรมและผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมาย สังคมแตกแยก เกิดความไม่ เท่าเทียมกันในสังคม คนไม่กลัวกฎหมาย ประชาชนไม่ได้รับความยุติธรรมและเห็นความสำคัญของจริยธรรมน้อยลง มีค่านิยมในทางวัตถุนิยม อำนาจนิยม  บริโภคนิยม อันเป็นบ่อเกิดของปัญหาอื่น ๆ เช่น ปัญหาเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ปัญหาทุจริต ในด้านกลไกควบคุมความประพฤติที่กำหนดไว้ พบว่ามีความเหมาะสม  แต่มีปัญหาเรื่องความจริงจังในการบังคับใช้กฎหมาย   จากผลการสำรวจทัศนคติของประชาชนชี้เห็นว่า ประชาชนยังคงเชื่อมั่นในวิชาชีพกฎหมาย  และมีแนวโน้มที่จะมีความคาดหวังมากยิ่งขึ้น  อันจะนำไปสู่การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในวิชาชีพกฎหมาย       
 ในงานวิจัยฉบับนี้ได้เสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหา ทั้งในด้านการพัฒนากฎหมาย   การบริหารงานบุคคลขององค์กรวิชาชีพ การปลูกฝังอุดมการณ์และค่านิยมที่ถูกต้อง การปรับปรุงด้านการศึกษาและหลักสูตรการเรียนการสอน การปรับปรุงระบบการตรวจสอบขององค์กรที่ทำหน้าที่ตรวจสอบให้มีความเข้มแข็งมากขึ้นพื่อให้เกิดการยกระดับจริยธรรมในวิชาชีพกฎหมายอย่างเป็นรูปธรรม  ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก เศรษฐกิจและสังคม  และสร้างความเข้มแข็งให้กับมาตรฐานจริยธรรมวิชาชีพมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายได้ตระหนักถึงความสำคัญของหลักจริยธรรมในวิชาชีพว่าเป็นรากฐานและหัวใจสำคัญที่จะทำให้ผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายได้รับการยอมรับและความไว้วางใจจากสาธารณชนว่าเป็นผู้ประกอบอาชีพที่มีเกียรติยศและศักดิ์ศรีในฐานะที่เป็นผู้อุทิศตนและเสียสละในกิจการงานสำคัญอันมีคุณค่ายิ่ง  ในการเป็นผู้ที่มีบทบาทและหน้าที่สำคัญในการดำรงรักษาไว้ซึ่งความรักและความศรัทธาในความดีงาม  ศีลธรรม  ความยุติธรรม  ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์  ความมั่นคงแห่งรัฐ  ความสงบสุขของสังคม และสันติภาพให้เป็นสิ่งที่มีอยู่จริง และยังคงอยู่คู่สังคมตลอดไป  ไม่ว่าจะเป็นอดีต  ปัจจุบัน และอนาคต

คำค้น : จริยธรรมในวิชาชีพกฎหมาย , จริยธรรม , วิชาชีพ , กฎหมาย

แหล่งข้อมูล  :   สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย  (สกว.) 

วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2556

เด่น ๆ งานวิจัยจริยธรรมในวิชาชีพกฎหมาย


จริยธรรมในวิชาชีพกฎหมาย
โดย  ศาสตราจารย์ (พิเศษ) วิชา  มหาคุณและคณะ
จริยธรรม คือ อุดมการณ์หรือจุดมุ่งหมายอันสูงสุดที่ผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายควรไปให้ถึง อันได้แก่ ความยุติธรรม การดำรงรักษาไว้ซึ่งความสงบสุขของสังคม และการใช้หลักเหตุผลยิ่งกว่าการกระทำตามอำเภอใจ  งานของผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายจึงเป็นภารกิจที่ยิ่งใหญ่ เพราะคุณค่าของงานเป็นการต่อสู้เพื่อความถูกต้อง ความดีงาม และศีลธรรมของสังคม  ผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายจึงจำเป็นต้องมีจริยธรรมสูงกว่าบุคคลทั่วไป  มีจิตใจที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว  เพื่อให้สามารถดำรงไว้ซึ่งเกียรติยศและศักดิ์ศรี เป็นที่รักและเคารพ ความเชื่อมั่น ศรัทธาและการได้รับความไว้วางใจจากสาธารณชน  จริยธรรมจึงเปรียบเสมือนเข็มทิศและแสงสว่างซึ่งทำหน้าที่ช่วยนำทางผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายให้สามารถเดินทางไป     สู่จุดมุ่งหมายของเจตนารมณ์ดังที่ตั้งใจ  และยังทำหน้าที่ในการแยกผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายที่เป็น มืออาชีพ   ออกจาก ผู้ที่เป็นเพียงผู้ใช้ความรู้ด้านกฎหมายในการทำมาหากินเพื่อแสวงหาประโยชน์ใส่ตัว        
ปริมาณงานของผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายจะมากหรือน้อยเพียงใด มองภายนอก เหมือนว่าจะมาจากคดีความหรือความขัดแย้งที่เกิดจากผู้คนในสังคม  แต่ภายในคือความไม่เท่าเทียมกัน  ความไม่ได้รับความยุติธรรม การเอารัดเอาเปรียบ อันเกิดจากความรัก โลภ โกรธ หลงของผู้คนในสังคม ที่ล้วนแต่เป็นปรากฏการณ์ที่เป็น      ความป่วยทางจิตวิญญาณ  ดังนั้น บทบาทของผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายในยุคต่าง ๆ จึงมิใช่ทำหน้าที่เพียงรักษาความบริสุทธิ์และความยุติธรรมแต่เพียงอย่างเดียว แต่ยังเป็นผู้ที่มีบทบาทในการรักษาอาการป่วยของ  ผู้คนในสังคมที่ต้องการความยุติในความ ด้วย เช่นเดียวกับแพทย์ที่รักษาคนไข้  และในขณะเดียวกันก็เป็น    ผู้ที่มีหน้าที่ในการรักษาไว้ซึ่งจริยธรรมและศีลธรรมของสังคม
   งานวิจัยนี้ได้มีการศึกษาถึงพัฒนาการของหลักจริยธรรมในวิชาชีพกฎหมายของไทยและ
ต่างประเทศ ตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน จากแนวคิด ทฤษฏี และอุดมการณ์ มาเป็นข้อห้าม ข้อควรกระทำและมาตรฐานวิชาชีพที่ได้รับการบัญญัติรองรับไว้เป็นกฎหมาย  และเป็นผลงานวิจัยฉบับแรกของวงการกฎหมายที่ได้มีการรวบรวมความคิดเห็นทั้งจากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิ และแบบสอบถามความคิดเห็นจากผู้พิพากษา ตุลาการศาลปกครอง  ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พนักงานอัยการ ทนายความ และประชาชน ในประเด็นเกี่ยวกับสภาพปัญหาจริยธรรมวิชาชีพ ผลกระทบ กลไกการบังคับใช้ และข้อเสนอแนะ รวมทั้งมีการสำรวจทัศนคติการให้ความสำคัญกับระดับปัญหาจริยธรรมของแต่ละกลุ่มวิชาชีพโดยแบ่งระดับความร้ายแรงมากถึงร้ายแรงน้อยไว้โดยละเอียด  จึงเป็นงานวิจัยที่มีทั้งเนื้อหาสาระเชิงแนวความคิด ทฤษฎี และการวิเคราะห์ข้อมูลความคิดเห็นที่ได้จากแบบสอบถาม
                ผลสรุปที่ได้จากการศึกษาเปรียบเทียบพัฒนาการทางกฎหมาย พบว่า แม้ว่าปรัชญาตะวันออกและตะวันตกจะมีที่มาของแนวความคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับหลักจริยธรรม ประวัติศาสตร์ และความเป็นมา สภาพเศรษฐกิจและสังคม ขนบธรรมเนียมประเพณี ศาสนา ระบบการเมืองการปกครอง  ประสบการณ์ในการต่อสู้กับอำนาจรัฐ และระบบกฎหมายที่แตกต่างกันก็ตาม แต่หลักจริยธรรมในวิชาชีพกฎหมายของตะวันออกและตะวันตกนั้น ล้วนมีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือความยุติธรรมอันนำมาซึ่งความสงบสุขของสังคม
                นอกจากนี้  ยังเห็นตรงกันว่าหลักจริยธรรมวิชาชีพเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้การประพฤติ ปฏิบัติของ  ผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายได้รับการยอมรับจากสาธารณชน และมีความสำคัญต่อการดำรงไว้ซึ่งความมั่นคงแห่งรัฐ 
หลักจริยธรรมคือความรับผิดชอบของผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมาย เป็นหัวใจสำคัญอันทำให้วิชาชีพมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากผู้ประกอบอาชีพทั่วไป  รวมทั้งเป็นสิ่งที่จำเป็นที่ทำให้ผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายสามารถเดินทางไปถึงจุดมุ่งหมายอันเป็นความฝันอันสูงสุด และประสบความสำเร็จที่จะได้เห็นภาพความงดงามของบ้านเมืองที่มีสงบสุข และมีสันติภาพ ความมั่นคงแห่งรัฐ สมดั่งที่ได้ตั้งใจไว้ไปพร้อมกันกับประชาชนในรัฐ ที่รักและศรัทธา  และเห็นคุณค่าของงานที่ผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายได้ร่วมกันสร้างขึ้น
                แบบสอบถามความคิดเห็นที่งานวิจัยฉบับนี้ได้รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายและประชาชน มีจุดเด่นสำคัญคือการแสดงให้เห็นถึงความตระหนักของผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายกับความคาดหวังของประชาชนและด้วยการเข้ามามีส่วนร่วมกันอย่างเท่าเทียมกันโดยมีจุดประสงค์ร่วมกันนี้ช่วยให้ค้นพบข้อสรุปและข้อเสนอแนะความคิดเห็นที่ร่วมกัน ทันสมัย ตรงกับความเป็นจริงและเป็นรูปธรรมมากที่สุด   ซึ่งจะช่วยลดความขัดแย้งและช่องว่างทางความคิดระหว่างกัน  
 ผลสรุปของการวิจัยคือ ผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายในประเทศไทย ก็ไม่อาจหนีพ้นจากความเปลี่ยนแปลงของโลกและสังคม ไม่ว่าในทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ซึ่งล้วนส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ในวิชาชีพกฎหมาย โดยเฉพาะค่านิยมทางสังคมที่มุ่งเน้นวัตถุนิยม และบริโภคนิยมเป็นหลัก ทำให้ความประพฤติอันเป็นพื้นฐาน (norm)  ได้หันเหออกจากหลักกฎหมาย ศีลธรรม และจริยธรรม ซึ่งทั้งสามสิ่งนี้คือแนวทางสำคัญของจริยธรรมวิชาชีพกฎหมาย และจากการเก็บข้อมูลได้ชี้เห็นถึงความห่วงใยของผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายว่า ปัจจุบันมีปัญหาการขาดความรู้ความสามารถ และความเข้าใจในการปฏิบัติหน้าที่อำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชน มีปัญหาเรื่องการทุจริต การวิ่งเต้นคดีเพื่อหวังผลให้เกิดการพลิกคดีมากขึ้น การให้ความสำคัญกับลัทธิบริโภคนิยม วัตถุนิยม อำนาจนิยม ส่งผลให้มีการฝ่าฝืนและละเมิดจริยธรรม ในระดับสูงยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน และความบกพร่องในด้านจริยธรรมส่วนตน ย่อมก่อให้เกิดผลกระทบต่อจริยธรรมสาธารณะ ไปด้วย 
จากผลการรวบรวมและสำรวจทัศนคติของประชาชน ทำให้เห็นว่าประชาชนยังคงเชื่อมั่นในวิชาชีพกฎหมาย  และมีแนวโน้มที่จะมีความคาดหวังต่อผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายมากยิ่งขึ้น  อันจะนำไปสู่การปรับปรุง เปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในวิชาชีพกฎหมายทั้งในด้านการพัฒนาระบบกฎหมาย  การปรับปรุงการบริหารงานบุคคลขององค์กรวิชาชีพ  และการปลูกฝังอุดมการณ์  ค่านิยมที่ถูกต้อง ปลุกจิตสำนึก การปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนและการศึกษาในสถาบันการศึกษากฎหมาย การปรับปรุงระบบการตรวจสอบขององค์กรที่ทำหน้าที่ตรวจสอบให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น ให้เกิดการยกระดับจริยธรรมในวิชาชีพกฎหมายอย่างเป็นรูปธรรม และทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก เศรษฐกิจและสังคม  เพื่อให้วิชาชีพกฎหมายสามารถดำรงไว้ซึ่งเกียรติยศและศักดิ์ศรี  ความเชื่อมั่นศรัทธาของประชาชน และความมั่นคงของรัฐในท้ายที่สุด

วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

Hot news !!! กำหนดการเสนอผลงานวิชาการ จริยธรรมในวิชาชีพกฎหมาย

Hot news !!  เรียนเชิญผู้สนใจร่วมงานสัมมนาวิชาการ   


 กำหนดการเสนอผลงานวิชาการ : จริยธรรมในวิชาชีพกฎหมาย
ฉบับสมบูรณ์  

   เรียนเชิญผู้สนใจทุกท่านเข้า่วมฟังการสัมมนาเพื่อนำเสนอ
 ผลงานวิชาการจริยธรรมในวิชาชีพกฎหมาย ฉบับสมบูรณ์ 

      วันที่ 8 มีนาคม 2556  มีการประชุมวิชาการ 
เรื่อง จริยธรรมในวิชาชีพกฎหมาย : วิกฤตหรือโอกาส
ในการพัฒนาสังคมไทยครั้งที่ 2 ณ โรงแรมรอยัลริเวอร์  
เชิงสะพานกรุงธน  (ห้องบงกชรัตน์  เอ)

      10.00 น.-11.00 น.  ศาสตราจารย์ (พิเศษ) วิชา  มหาคุณ

                               กรรมการ ป.ป.ช.

      วิพากษ์โดย  ศาสตราจารย์ศรีราชา   เจริญพานิช 
                      ผู้ตรวจการแผ่นดิน

     ท่าศาสราจารย์ (พิเศษ) วิชา  มหาคุณ  จะไปร่วมงาน 
อย่างแน่นอนค่ะ   
     รอพบปะพูดคุย เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางวิชาการ
กับท่านได้ในงานนะคะ   

( กำหนดการสัมมนา 8 มีนาคม 2556  คลิกดาวน์โหลดที่นี่ )

http://www.mediafire.com/view/?ceibo1um48bmr6w



ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการสัมมนา (เตรียมตัวไปฟังสัมมนา) 
คลิกที่นี่

1. ฉบับเผยแพร่ในที่ประชุม
  http://www.mediafire.com/view/?52cdtcbt777pe64



2. ppt 
   http://www.mediafire.com/view/?mfmdau7jl0a2ub7